เมนู

ใน จิตไม่ตั้งอยู่ในนิมิต. เพราะฉะนั้น จิตย่อมกวัดแกว่งในนิมิต โดยนัย
นี้พึงทำการประกอบแม้ในบทที่เหลือ. บทว่า วิกมฺปติ ในคาถาทั้งหลาย
ได้แก่ ความฟุ้งซ่าน คือถึงความฟุ้งซ่าน.
จบทุติยฉักกะ

ตติยฉักกะ (ฉักกะที่ 3)


พึงทราบวินิจฉัยในตติยฉักกะดังต่อไปนี้. บทว่า อตีตานุธาวนํ จิตฺตํ
จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์ คือจิตที่ไปตามอัสสาสะ หรือปัสสาสะอันล่วงเลย
ที่สัมผัสไป.
บทว่า วิกฺเขปานุปติตํ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน คือไปตามด้วยความ
ฟุ้งซ่าน หรือตกไป คือไปตามความฟุ้งซ่านเอง. บทว่า อนาคตปฏิกงฺขณํ
จิตฺตํ
จิตที่ปรารถนาอนาคตารมณ์ คือจิตที่ปรารถนา คือหวังอัสสาสะหรือ
ปัสสาสะอันยังไม่ถึงที่สัมผัส. บทว่า วิกมฺปิตํ หวั่นไหว คือหวั่นไหวด้วย
ความฟุ้งซ่านอันไม่ตั้งอยู่ในอัสสาสะและปัสสาสะนั้น. บทว่า ลีนํ จิตหดหู่
คือจิตท้อแท้ด้วยความเพียรอันย่อหย่อนเกินไปเป็นต้น. บทว่า โกสชฺชานุ-
ปติตํ
จิตตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน คือไปตามความเกียจคร้าน. บทว่า อติป-
คฺคหตํ
จิตที่ประคองไว้จัด คือจิตที่มีความอุตสาหะจัดด้วยปรารภความเพียร
จัด. บทว่า อุทฺธจฺจานุปติตํ จิตตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน คือไปตามความ
ฟุ้งซ่าน. บทว่า อภินตํ จิตที่น้อมเกินไป คือจิตที่น้อมไปยิ่ง คือติดอยู่ใน
วัตถุแห่งอัสสาสะทั้งหลาย. บทว่า อปนตํ จิตที่ไม่น้อมไป คือจิตกระทบใน
วัตถุแห่งความไม่ยินดี หรือจิตปราศจากวัตถุแห่งความยินดีนั้น หรือยังไม่
ปราศจากไป ความว่า ไม่ปราศจากไปจากวัตถุนั้น. บทว่า ราคานุปตตํ

จิตตกไปข้างฝ่ายความกำหนัด คือเมื่อพระโยคาวจรกำหนดไว้ในใจถึงอัสสาส-
ปัสสาสนิมิต ความกำหนัดตกไปในปีติและสุข หรือในวัตถุที่รื่นเริง รำพัน
และการเล่นในก่อน. บทว่า พฺยาปาทานุปติตํ จิตตกไปข้างฝ่ายพยาบาท
คือเมื่อพระโยคาวจรมีจิตไม่ยินดีในการกำหนดไว้ในใจ ความพยาบาทย่อมตก
ไปตามอำนาจแห่งความโทมนัสที่เกิดขึ้นแล้ว หรือในอาฆาตวัตถุ (วัตถุแห่ง
ความอาฆาต) ที่ประพฤติมาในกาลก่อน.
บทว่า น สมาธิยติ ในคาถาทั้งหลาย ได้แก่ จิตไม่ตั้งมั่น. บทว่า
อธิจิตฺตํ อธิจิต คือสมาธิอันยิ่ง ท่านแสดงโดยจิตเป็นประธาน.
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระสารีบุตรเถระครั้นแสดงอุปกิเลส 18 ด้วย
ฉักกะ 3 แล้วบัดนี้ เมื่อจะแสดงถึงโทษแห่งอุปกิเลสเหล่านั้นโดยให้สำเร็จความ
เป็นอันตรายแก่สมาธิ จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า อสฺสาสาทิมชฺฌปริโยสานํ
ดังนี้อีก ความว่า เบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจเข้า.
ในบทเหล่านั้น บทว่า กาโยปิ จิตฺตมฺปิ สารทฺธา จ โหนฺติ กาย
และจิตย่อมมีความปรารภ ความว่า แม้รูปกาย ด้วยอำนาจเเห่งรูปอันมีความ
ฟุ้งซ่านเป็นสมุฏฐาน แม้จิตด้วยอำนาจแห่งความฟุ้งซ่านเป็นการสืบต่อ ย่อม
เป็นอันยุ่งยากด้วยความลำบากและมีความกระวนกระวาย โดยความอ่อนกว่า
นั้นก็ตื่นเต้นหวั่นไหว โดยความอ่อนกว่านั้นก็ดิ้นรนวุ่นวาย ย่อมมีความ
ยุ่งยาก มีกำลังบ้าง ปานกลางบ้าง อ่อนบ้าง. ท่านอธิบายว่า ไม่สามารถจะ
ไม่ให้ยุ่งยากได้.
บทว่า จิตฺตํ วิกมฺปิตตฺตาปิ คือเพราะจิตหวั่นไหว. บทว่า ปริปุณฺณา
อภาวิตา
ในคาถาทั้งหลาย คือไม่เจริญเหมือนอย่างที่บำเพ็ญไว้. บทว่า
อิญฺชิโต คือหวั่นไหว. บทว่า ผนฺทิโต ดิ้นรน คือหวั่นไหวอย่างอ่อน.

เพราะความที่นิวรณ์ทั้งหลายในเบื้องต่ำไม่มีลำดับ ท่านจึงแสดงด้วยอัจจันตสมี-
ปะ (ใกล้ที่สุด) ด้วยบทมีอาทิว่า ก็และด้วยนิวรณ์ทั้งหลายเหล่านี้. แต่ใน
ที่นี้ เพราะนิวรณ์ทั้งหลายมีลำดับในบทสรุป ท่านจึงแสดงเป็นปรัมมุขา (ลับ
หลัง) ด้วยบทมีอาทิว่า ก็และด้วยนิวรณ์ทั้งหลายเหล่านั้น.
จบอรรถกถาอุปกิเลสญาณนิเทศ

4. อรรถกถาโวทานญาณนิเทศ


บทว่า โวทาเน ญาณานิ ญาณในโวทาน คือญาณบริสุทธิ์.
บทว่า ตํ วิชยิตฺวา เว้นจิตนั้นเสีย พึงเชื่อมความว่า เว้นจิตแล่นไปตาม
อตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน ดังกล่าวแล้วในก่อนเสีย. บทว่า เอกฏฺฐาเน
สมาทหติ
ย่อมตั้งมั่นจิตไว้ในฐานะหนึ่ง คือ ตั้งมั่นไว้เสมอในที่สัมผัสแห่ง
อัสสาสะและปัสสาสะ. บทว่า ตตฺเถว อธิโมกฺเขติ น้อมจิตไปในฐานะนั้นแล
เมื่อท่านกล่าวว่า เอกฏฺฐาเน ในฐานะหนึ่ง พระโยคาวจรย่อมทำความตกลง
ในที่สัมผัสแห่งอัสสาสะและปัสสาสะ.
บทว่า ปคฺคณฺหิตฺวา ประคองจิตไว้แล้ว คือ ประคองจิตไว้ด้วย
เจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์และปีติสัมโพชฌงค์. บทว่า วินิคฺคณฺหิตฺวา
ข่มจิตนั้นเสีย คือ ข่มจิตไว้ด้วยการเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์
และอุเบกขาสัมโพชฌงค์. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ประคองจิตไว้ด้วย
สตินทรีย์และวีริยินทรีย์ ข่มจิตไว้ด้วยสตินทรีย์และสมาธินทรีย์.